คืนรถให้ไฟแนนซ์ VS โดนยึดรถ ต่างกันยังไง?
ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจผันผวนและรายได้ไม่แน่นอน ผู้ที่กำลังผ่อนรถจำนวนไม่น้อยอาจเริ่มรู้สึก “ไม่ไหวจะผ่อนต่อ” แล้วคิดหาทางออก หนึ่งในคำถามยอดฮิตคือ “คืนรถให้ไฟแนนซ์ได้ไหม?” กับอีกสถานการณ์ที่หลายคนกลัวคือ “โดนยึดรถ”
ทั้งสองอย่างนี้ฟังดูคล้ายกัน แต่ในความจริง ต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ผลกระทบทางกฎหมายและเครดิตบูโร บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจแบบชัดเจนว่า คืนรถกับถูกยึดรถต่างกันอย่างไร และทางไหนเจ็บน้อยกว่ากัน
คืนรถให้ไฟแนนซ์ คืออะไร?
คือการที่ลูกหนี้หรือผู้เช่าซื้อ ตัดสินใจนำรถไปคืนให้ไฟแนนซ์โดยสมัครใจ ก่อนที่จะผิดนัดชำระเป็นเวลานานหรือถูกดำเนินคดี เป็นวิธีที่คนผ่อนไม่ไหวเลือกใช้เมื่อเห็นว่าไม่สามารถแบกรับภาระหนี้ต่อไปได้
ข้อดี
ไฟแนนซ์มองว่า “ลูกหนี้ยังมีความรับผิดชอบ” ลดค่าใช้จ่ายในการตามยึด เช่น ค่าทนาย ค่าขนส่ง
กระทบเครดิตบูโร “น้อยกว่าการถูกยึด”
ข้อควรรู้
ไฟแนนซ์จะนำรถไปขายทอดตลาด หากขายได้ไม่ครอบคลุมหนี้ที่เหลือ ผู้เช่าซื้อ ยังต้องรับผิดชอบส่วนต่าง
╔═════════════════════════╗
มองหาสินเชื่อ รถแลกเงิน หรือ รีไฟแนนซ์รถ
เพิ่มเพื่อนมาเลยที่ LINE: @AUCTFinn 💰 🚗
AUCT Finn จะช่วยให้การ “รีไฟแนนซ์รถ” กลายเป็นเรื่องง่าย!
อีกหนึ่งบริการดีๆจาก บมจ. สหการประมูล
╚═════════════════════════╝
โดนยึดรถ คืออะไร?
คือการที่ผู้เช่าซื้อ ผิดนัดชำระค่างวดนานหลายงวด (โดยทั่วไปประมาณ 3 งวดขึ้นไป) และเพิกเฉยต่อการติดต่อจากไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์จึงดำเนินการตามกฎหมาย โดยส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการยึดรถคืน
ข้อเสียหลัก ๆ
ต้องเสีย “ค่าติดตามยึดรถ” และ “ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ” กระทบเครดิตบูโรอย่างรุนแรง (ติดประวัติ) อาจโดนฟ้องร้องเรียกส่วนต่าง + ดอกเบี้ย + ค่าธรรมเนียม หากไม่ชำระ อาจถูก “อายัดทรัพย์” หรือ “บังคับคดี” ได้ในอนาคต
ผ่อนไม่ไหว ควรทำยังไง?
หากคุณรู้ตัวว่าเริ่มผ่อนไม่ไหว อย่าปล่อยให้เรื่องบานปลาย รีบติดต่อไฟแนนซ์เพื่อพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ขอลดค่างวด ขอขยายเวลาชำระ หรือหากไม่มีทางเลือกจริง ๆ การคืนรถโดยสมัครใจยังดีกว่าถูกยึด
แกลเลอรี่